e เรื่องทั่วไป

The Third Murder: ภาพยนตร์ที่กล้าตั้งคำถามกับสังคม เรื่อง โทษประหารชีวิต

The Third Murder: ภาพยนตร์ที่กล้าตั้งคำถามกับสังคม เรื่อง โทษประหารชีวิต

By , Friday, 08 December 2017


ก่อนเข้าเนื้อหา เราขอเล่าความรู้สึกที่เกิดขึ้นทุกช่วงเวลาของการดูเรื่อง The Third Murder ก่อนเลย คือ "อึดอัด" และ "กดดัน" ไม่ว่าตัวละครไหน พูดเรื่องอะไร ต้องมานั่งคิดทบทวนว่า คนนั้นพูดจริงรึเปล่า หรือว่าพูดโกหก เป็นความอึดอัดที่อีกนิดจะรู้ความจริงแล้ว แต่สุดท้ายกลับไม่ใช่แบบที่คิดไว้ ปกติเราเป็นคนชอบดูหนังแนวซับซ้อนมากๆอยู่แล้ว แต่เรื่องนี้ ขอยกให้เลยว่า เป็นหนังที่เล่นกับความคิดของผู้ชมได้ดีมากจริงๆ



เรื่องย่อ

The Third Murder เล่าเรื่องราวผ่าน 3 ตัวละครหลัก ทนายความคนเก่ง ที่รับว่าความให้กับผู้ต้องหาคดีฆาตกรรมที่ชวนสงสัยและมีแนวโน้มว่าผู้ต้องหาจะถูกตัดสินให้ได้รับโทษประหารชีวิต แต่เมื่อยิ่งสืบลึกลงไปคนที่เขาสงสัยกลับเป็นลูกสาวของตัวฆาตกรเอง โดย มาซาฮารุ ฟุกุยามะ รับบท ทนายความ  ซึสึ ฮิโรเสะ รับบท ลูกสาวของผู้ถูกฆาตกรรม  จิกซอว์ชิ้นสำคัญในคดีนี้ โคจิ ยากุโช นักแสดงรุ่นใหญ่ในบทผู้ต้องหาคดีฆาตกรรม

ขอบคุณข้อมูลจาก Mongkol cinema


(เนื้อหาต่อจากนี้ อาจมีสปอย)


The Third Murder ฆาตกรรมครั้งที่ 3 คืออะไร ? 


เรื่องแรกที่อยากพูดถึงคือ "ชื่อของภาพยนตร์" หลังดูหนังจบ สิ่งแรกที่คิดถึงเลยคือชื่อเรื่อง อะไรคือการฆาตกรรมครั้งที่ 3?

ในเรื่องเกิดเหตุการณ์ฆาตกรรมแค่ 2 ครั้งเอง ได้แก่

ฆาตกรรมครั้งที่ 1 คือ เหตุการณ์ฆ่าคนตาย 2 รายของมิสึมิที่ฮอกไกโด เมื่อ 30 ปีก่อน

ฆาตกรรมครั้งที่ 2 คือ เหตุการณ์ฆ่าพ่อของซาคิเอะ (ฮิโรเสะ ซึสึ)

จากนั้นมิสึมิที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นฆาตกรก็ถูกจับเข้าคุก แล้ว...ฆาตกรรมครั้งที่ 3 คืออะไรล่ะ:



พอมานั่งคิดดีๆแล้ว สิ่งที่จะมีการตายเกิดขึ้นอีกครั้งในเรื่อง มีเพียงเรื่องเดียวคือโทษตัดสินประหารชีวิตของมิสึมินั่นเอง ผู้พิพากษาเป็นบุคคลที่ดูมีความยุติธรรมและมีคุณธรรมมากที่สุด แต่ในอีกมุมหนึ่งเขาก็เป็นผู้มีสิทธิ์ฆ่าคนเหมือนกัน



ทษประหารชีวิต = การฆาตกรรม 



นี่เอง จึงเป็นประเด็นหลักของภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ตั้งคำถามกับสังคมว่า "คนที่มีสิทธิ์พิพากษาชีวิตของคนอื่น คือใคร" ผู้พิพากษา? อัยการ? ทนาย? ตำรวจ? หรือตัวเราเอง? 


"ศาล ไม่ใช่ที่สืบหาความจริง"

เวทีของเรื่องนี้เกิดขึ้นที่ศาล แต่สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด อยู่นอกศาล



โดยทั่วไป ผู้พิพากษาตัดสินคดี โดยดูจากหลักฐาน ทั้งพยานบุคคล และพยานวัตถุ จากอัยการและทนายความหามา ในภาพยนตร์ได้สะท้อนให้เห็นว่า แต่ละอย่างเป็นตัวแปรที่ทำให้จาก "คำโกหกกลายเป็นความจริง" หรือ "ความจริงกลายเป็นคำโกหก" เพียงเพราะการต้องการสู้คดีกันของฝ่ายอัยการและทนายความ แล้วแบบนี้ การที่ผู้พิพากษาตัดสินคดี โดยอิงจากหลักฐานเหล่านี้ แท้จริงแล้วมันน่าเชื่อถือหรือไม่ 



เช่น ในเรื่อง พระเอกที่เป็นทนาย ตีความว่าเงิน 500,000 เยนที่โอนเข้าบัญชีของมิสึมิ ฆาตกรนั้น ว่าเป็นเงินค่าปิดปากในการจ้างวานฆาตกรรม โดยให้ตัวฆาตกรเป็นคนให้การในศาล เพียงเพื่อที่จะชนะคดี ทั้งที่ความจริงแล้ว เป็นเงินค่าปิดปากในเรื่องอื่น


อีกตัวแปรหนึ่งที่สำคัญ คือ "เวลา" ที่ในแต่ละวัน มีคดีต่างๆมากมาย ทำให้ผู้พิพากษา อัยการ หรือทนายความ จะทุ่มตัดสินคดีๆหนึ่งไปเลยไม่ได้ การที่ตัวมิสึมิ กลับคำให้การในตอนท้ายเรื่อง แล้วคณะลูกขุนทั้งหมดเห็นพ้องตรงกันว่า ไม่ควรกลับไปสืบคดีใหม่ เพราะ "เสียเวลา" และทำให้คดียืดเยื้อเกินไป จึงสรุปง่ายๆว่า ยืนตามหลักฐานเดิม และตัดสิน "โทษประหารชีวิต"


มันยุติธรรมแล้วแน่หรือ ที่จะได้รับโทษประหารชีวิต เพียงเพราะคนอื่นไม่มีเวลามาสืบหาหลักฐานพิสูจน์ความจริง




พอลองคิดให้ลึกลงไปอีก ในสังคมเราก็มีคนที่ทำตัวเป็นผู้พิพากษาอยู่มากมาย ตัดสินคนอื่นโดยไม่ค้นหาความจริง และปักใจเชื่อในสิ่งที่ตัวเองคิดไปทั้งหมด เช่น มิสึมิ ถูกบีบให้รับสารภาพว่าเป็นฆาตกร ทั้งๆที่ทนายยังไม่ทันได้สืบความจริง เพราะเชื่อไปแล้วว่าคนที่เคยฆ่าคนตายเมื่อ 30 ปีก่อน ยังไงก็ต้องฆ่าคนตายอีกแน่ๆ หรือแม้แต่ตัวมิสึมิเอง ก็พิพากษาแม่ของซึสึที่เพิกเฉยต่อการที่สามีทารุณกรรมลูกตัวเอง มิสึมิจึงยอมให้การเรื่องเงินค่าปิดปากที่ยกตัวอย่างไปในตอนแรก เพื่อที่จะทำให้แม่ของซึสึได้รับโทษเช่นกัน ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงเป็นการสะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสังคม โดยผ่านคดีฆาตกรรม และคำตัดสินของศาล เพราะเป็นสิ่งที่เปรียบเปรยได้เห็นภาพมากที่สุด 





ความหมายของโปสเตอร์ของภาพยนตร์

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือภาพโปสเตอร์โปรโมตภาพยนตร์ เหตุใดจึงจะมีเลือดติดที่แก้มของนักแสดงทั้ง 3 คน เพียงแค่ให้คนเดาว่าใครคือคนร้ายที่แท้จริงแค่นั้นเหรอ

โคจิ ยาคุโช เพราะเป็นฆาตกร เป็นความหมายตรงตัว

ฮิโรเสะ ซึสึ ลูกสาวของคนที่โดนฆ่า แต่จริงๆแล้วเธอก็มีความคิดที่ซ่อนอยู่ในใจว่าอยากจะฆ่าพ่อของตัวเอง เพราะโดนทารุณกรรมทางเพศ จึงเปรียบเป็นฆาตกรทางความคิด

ฟุคุยามะ มาซาฮารุ ทนายความ สุดท้ายก็ไม่สามารถช่วยให้ฆาตกรลดโทษจากประหารชีวิตเป็นจำคุกตลอดชีวิตได้ จึงสื่อความหมายว่ามีเลือดติด จึงเปรียบเป็นฆาตกรโดยอ้อม



บทส่งท้าย

ใครที่สงสัย ว่าสุดท้ายแล้ว "ใครคือคนร้าย" ก็ขออนุญาตแปลความคิดเห็นของโคโรเอดะ ฮิโรคาสึ ผู้กำกับ ที่เขียนไว้ในแผ่นพับ Official ว่า "จนถึงตอนนี้ ผมถ่ายทำผลงานชิ้นนี้โดยตั้งใจไม่ให้คนดูตัดสินตัวละคร ดังนั้น ผมเลยไม่ใช้สายตาของพระเจ้า(มุมมอง)ในการถ่ายเช่นกัน ใครเป็นคนฆ่านั้น จนถึงตอนนี้ผมก็ยังตัดสินไม่ได้"



อ้างอิง

http://gaga.ne.jp/sandome/

https://ciatr.jp/topics/307928

https://www.jubilove.com/entry/sandome

https://cinemarche.net/suspense/sandome-taitoru/




สามารถพูดคุยและติดตามเรื่องราวภาษาญี่ปุ่นได้ที่เพจ I Love Japan

และพูดคุยเรื่องราวของละครและภาพยนตร์ญี่ปุ่นได้ที่เพจ Daisuki JDrama



หมายเหตุ ผลงานการเขียนนี้เป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียน ไม่อนุญาตให้ผู้ใดคัดลอก




blog อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

[สปอย] ความหมายที่แท้จริงของ "อยากกินตับอ่อนของเธอ" - Kimi no suizou wo tabetai

ทำไม "ชื่อเรื่อง" ละครญี่ปุ่น ถึงย้าวยาววววววว

ซีรีส์ญี่ปุ่นที่ตัวรองเด่นเกินหน้าเกินตาตัวเอก

สร้างฝันให้สำเร็จ! Let's go Jets! ส่งพลังเชียร์จากจอสู่ชีวิตจริง

KISEKI ~Anohi no sobito ปาฏิหาริย์ของนักร้องที่ไม่อาจเปิดเผยหน้าตา

9 ดาราญี่ปุ่น หน้าคล้ายกันจนนึกว่าฝาแฝด

นานะ โคมัทสึ คู่กับพระเอกญี่ปุ่นคนไหนแล้วปังสุด!

[สปอย]ใครงงมาทางนี้ อธิบายไทม์ไลน์แบบง่ายๆ Tomorrow I Will Date With Yesterday's You

8 นักแสดงไอดอลชายที่แต่งหญิงได้เริ่ด! จนผู้หญิงแท้ต้องขอยอม

มาดูกันว่าตัวละครใน Your Name จะเหมือนคนพากย์เสียงขนาดไหน


ติดตามรับข่าวสารเกี่ยวกับญี่ปุ่น

YouTube: www.youtube.com/ilovejapanth/

Facebook: www.facebook.com/ILoveJapan.th/

Twitter: https://twitter.com/ILOVEJAPANTH

Instagram: www.instagram.com/ilovejapanth/

TikTok: https://www.tiktok.com/@ilovejapanth

ทดลองเรียนภาษาญี่ปุ่นออนไลน์ฟรี 3 วันได้ที่ www.ilovejapanschool.com