j ภาษาญี่ปุ่น

มาเรียนรู้คำศัพท์ญี่ปุ่นสำหรับเด็กเล็กกันเถอะ

มาเรียนรู้คำศัพท์ญี่ปุ่นสำหรับเด็กเล็กกันเถอะ

By , Wednesday, 23 May 2018

​     สวัสดีค่ะเพื่อนๆ สำหรับใครที่กำลังเรียนภาษาญี่ปุ่นอยู่เป็นที่ทราบกันดีว่าภาษาญี่ปุ่นนั้นมีแยกประเภทให้เรียนทั้งคำสุภาพ คำถ่อมตัว คำยกย่อง คำพูดสำหรับผู้ชาย คำพูดสำหรับผู้หญิง แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าภาษาญี่ปุ่นมีคำพูดสำหรับเด็กเล็กด้วย ภาษาญี่ปุ่นจะเรียกว่า 幼児語 [youjigo] 

     เหตุที่ฟ้าจังทราบว่าภาษาญี่ปุ่นมีคำพูดสำหรับเด็กเล็กนั้นก็เพราะว่าสมัยเรียนภาษาญี่ปุ่นอยู่ อาจารย์แกเล่าให้ฟังค่ะ แกบอกว่า

     ”มีคำพูดของเด็กด้วยนะ”

     ทุกคนในชั้นเรียนตกใจเป็นเสียงเดียวกันเลยค่ะพร้อมกับพูดว่า 

     ”มีด้วยหรอ.!..?..!..?”

     พออาจารย์แกอธิบายคร่าวๆฟ้าจังก็นั่งคิดตามไปด้วย แหม+ มันเป็นอะไรที่เหมือนเส้นผมบังภูเขาค่ะ คำพูดสำหรับเด็กเล็กมีหลายๆคำที่ฟ้าใช้ในชีวิตประจำวันแต่ไม่รู้ตัวเลยว่ามันคือคำพูดสำหรับเด็กเล็ก จากนั้นก็ไปหาข้อมูลแล้วนั่งแปลและเรียบเรียงมาให้เพื่อนๆได้อ่านเสริมเป็นความรู้รอบตัวค่ะ ใครเรียนเอกญี่ปุ่นห้ามพลาดนะเจ้าคะ

​     สำหรับเพื่อนๆที่เคยได้ยินคำพูดสำหรับเด็กเล็กผ่านหูมาบ้างฟ้าจังอยากจะถามว่าเพื่อนๆเคยนำมาใช้กันบ้างไหมคะ เรามาดูกันก่อนสิว่าข้อดีและข้อเสียของคำพูดสำหรับเด็กเล็กนั้นมีอะไรบ้าง

ข้อดี メリット [meritto]

- เด็กจะมีพัฒนาการในการพูดไวขึ้น

- เด็กจะได้เรียนรู้คำศัพท์และจำคำศัพท์ได้เยอะขึ้น

ข้อเสีย デメリット [demeritto]

- เด็กรู้สึกอาย

-  เมื่อเด็กโตขึ้นจะจำมาใช้พูดกับผู้ใหญ่จึงจำเป็นต้องแก้ไข

     เหตุผลที่ใช้คำพูดสำหรับเด็กเล็กกับผู้ใหญ่ไม่ได้ฟ้าจังขออนุญาตพูดสรุปในตอนท้ายนะคะ


     เรื่องนี้เป็นปัญหาที่คนญี่ปุ่นถกเถียงกันพอสมควรเจ้าค่ะ แต่สรุปมาได้คร่าวๆก็คือ คนญี่ปุ่นเขาบอกว่า

"คำพูดสำหรับเด็กไม่จำเป็นต้องสอนลูกพูดให้มากหรอกสอนแต่พอเหมาะตามความจำเป็นก็แล้วกัน"

     ก็เหมือนกับข้อเสียตามข้างต้นแหละค่ะเพราะถ้าเด็กจำแล้วจะแก้ตอนโตก็ยากล่ะคราวนี้

     ยิ่งไปกว่านั้นพ่อแม่ชาวญี่ปุ่นยังบอกอีกกว่า ถ้าเป็นไปได้นะเริ่มแรกเลยเมื่อลูกเริ่มหัดพูดก็สอนภาษาญี่ปุ่นคำปกตินี่แหละจะดีที่สุด

     แต่ทว่าถ้าอยากจะสอนคำพูดสำหรับเด็กเล็กให้กับลูกจริงๆล่ะก็ ควรสอนคำพูดสำหรับเด็กเล็กพื้นฐานที่ทางโรงเรียนอนุบาลเขาใช้กันทั่วไปก็พอ เช่น​ パパ [papa] หรือ ママ [mama] เป็นต้นค่ะ เหตุผลก็คือเพื่อไม่ให้เด็กลังเลในการพูดของตัวเอง ซึ่งจะส่งผลให้พัฒนาการในการพูดของเด็กดีขึ้น

     ความหมายที่แท้จริงของคำพูดสำหรับเด็กเล็กก็คือ คำพูดของเด็กเล็กที่ไม่สามารถใช้พูดกับผู้ใหญ่ได้ เป็นคำศัพท์ที่เด็กเล็กเข้าใจง่าย 分かりやすく[wakariyasuku] และออกเสียงได้ง่าย 発音しやすく [hatsuonn-shiyasuku] เหมือนกับคำศัพท์ตัวอย่างข้างล่างนี้ค่ะ  


ニィンニャン / ニャーニャ [nyang-nyann] แมว 猫[neko]

モーモー [moo-moo] วัว 牛 [ushi]

ワンワン [wann-wann] หมา 犬 [inu]

ブーブ [buu-bu] รถยนต์ 車 [kuruma]

ポッポ [popo] นกเขา 鳩 [hato]

コッコ [koko] ไก่ 鶏 [niwatori]

チッチ/チー [chitchi / chii] ฉี่ おしっこ [o-shikko]

ちゃちゃ [cha-cha] น้ำชา お茶 [o-cha]

まんま [mann-ma] ข้าว ご飯 [go-hann]

おつむ [otsumu] หัว 頭 [atama]

じいじ [jii-ji] ตา/ปู่ おじいちゃん [o-jiichann]

ばあば [baa-ba] ย่า/ยาย おばあちゃん [o-baachann]


ママ [mama] แม่ お母さん [o-kaasann]

パパ [papa] พ่อ お父さん [o-tousann]

ああん [a-ann] อ้าปาก 口を開ける [kuchi wo akeru]

あんよ [ann-yo] ขา/เดิน 足/歩く [ashi / aruku]

たっち [tacchi] ยืน 立つ [tatsu]

おも [omo] ไปข้างนอก お外 [o-soto]

うまうま [uma-uma] อร่อย 美味しい [oishii]

あっちっち [atchitchi] ร้อน 熱い [atsui]

ばっちい [batchii] สกปรก 汚い [kitanai]


     โอ้โห! น่ารักจังเลยค่ะ ฟ้าจังนั่งพิมพ์ไปลองพูดตามไปน่ารักมากๆ นี่แค่ตัวอย่างบางตอนนะคะยังมีอีกเยอะเลย ยังไงเพื่อนๆลองไปค้นหากับเฮียกู๋(กูเกิ้ล)กันได้นะคะ โดยให้ใส่คีย์เวิร์ดว่า 幼児語 คำนี้ค่ะไม่ต้องใส่ฮิรากานะนะคะแค่นี้เพื่อนๆก็จะได้เรียนรู้คำพูดสำหรับเด็กเล็กได้เต็มอิ่มเลยค่ะ

      เป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่อเด็กเกิดมาก็จะสามารถจำและพูดได้โดยธรรมชาติ แต่ไม่ใช่แค่เรียนรู้ตามธรรมชาติอย่างเดียวนะคะเด็กๆยังเรียนรู้จากการเลียนแบบอีกด้วย นั่นคือจากพ่อแม่หรือผู้ใหญ่รอบๆตัวของเด็กนี่แหละ แต่คำพูดของผู้ใหญ่ที่เด็กจำและพูดมันเข้าใจยากค่ะ ถ้าผู้ใหญ่ใช้คำพูดของผู้ใหญ่กับเด็กเล็กมากๆจะทำให้เด็กเกิดภาวะการใช้มือใช้ไม้ชี้แสดงท่าทางแทนการพูด ジェスチャー [jesuchaa] และ มีปัญหาบกพร่องทางพัฒนาการ クレーン現象 [kurenn-gennshou] หรือ 発達障害 [hattatsu-shougai]

     หลักการง่ายๆที่จะทำให้ลูกของคุณเริ่มพูดออกมาก็คือใช้คำพูดง่ายๆพูดคุยกับเขาค่ะหรือ ใช้คำพูดสำหรับเด็กเล็ก 幼児語 [youjigo] นั่นเอง

     ถ้าใครแต่งงานกับคนญี่ปุ่นและมีบุตรจะสัมผัสได้เลยว่าคนสมัยโบราณรวมถึงปู่ย่าตายายหรือญาติพี่น้องของเด็กจะแนะนำให้พ่อแม่ของเด็กว่าพยายามใช้คำพูดสำหรับเด็กเล็กเพราะลูกจะได้พูดเก่งๆ แต่ผู้ใหญ่บางคนบอกว่าการใช้คำพูดสำหรับเด็กเล็กจะมีผลเสียต้องมานั่งแก้ตอนเด็กโต (แต่ฟ้าจังคิดว่านั่นมันเป็นปัญหาของผู้ใหญ่มากกว่าค่ะแต่มาลงที่เด็กแทน)

     การใช้คำพูดสำหรับเด็กเล็กนอกจากเด็กจะเข้าใจง่ายและมีพัฒนาการด้านการพูดที่ดีแล้วยังส่งผลให้เด็กๆเข้ากับคนอื่นได้ดีและรู้จักการสนทนากับคนอื่นได้ดีอีกด้วย コミュニケーションや会話をしやすい [komyunikeshonn ya kaiwa wo shiyasui]

     เหตุผลของคนญี่ปุ่นบางคนที่ไม่ชอบคำพูดสำหรับเด็กเล็กก็คือ เมื่อเด็กโตขึ้นต้องมานั่งแก้ไขให้ถูกต้อง แต่ในความเป็นจริง เมื่อพูดถึงคำพูดหรือภาษามันจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามอายุค่ะ จึงไม่จำเป็นที่จะต้องมานั่งแก้ไขอะไรเลย เด็กจะสามารถเรียนรู้ได้เองว่าตัวเองควรจะพูดด้วยคำพูดแบบไหน


     ตัวอย่างเช่น


ご飯 [go-hann] แปลว่าข้าว/กินข้าว ถ้าจะพูดหรือแก้ไขให้ถูกต้องมันมีตั้งหลายคำค่ะ เช่น

食事 [shokuji] การรับประทานอาหาร

朝ご飯 [asa go-hann] อาหารเข้า

昼ご飯 [hiru go-hann] อาหารกลางวัน

夕ご飯 [yu go-hann] อาหารเย็น

夜ご飯 [yoru go-hann] อาหารเย็น

晩ご飯 [bann go-hann] อาหารเย็น


     แต่ว่าคงจะไม่มีพ่อแม่ญี่ปุ่นคนไหนสอนลูกวัย 1 ขวบของตัวเองให้พูดคำว่า「食事だよ」[shokuji dayo]  "รับประทานอาหารค่ะลูก" ส่วนใหญ่แล้วจะสอนให้พูดว่า ご飯 [go-hann] กินข้าวค่ะลูก

     จากนั้นก็จะมีการพัฒนาการของภาษาหรือมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ดังนี้


ご飯 [asa go-hann] อาหารเข้า

昼ご飯 [hiru go-hann] อาหารกลางวัน

夕ご飯 [yu go-hann] อาหารเย็น

夜ご飯 [yoru go-hann] อาหารเย็น

晩ご飯 [bann go-hann] อาหารเย็น


     ต่อมาเมื่อเด็กโตขึ้นมาจนเรียนชั้นประถมภาษาหรือคำพูดก็จะเปลี่ยนไปในระดับที่ยากขึ้น มีความสุภาพมากขึ้น เป็นทางการมากขึ้น ดังนี้


食事 [shokuji] การรับประทานอาหาร

外食 [gaishoku] การทานอาหารนอกบ้าน

ご馳走 go-chisou] การเลี้ยงอาหาร

お呼ばれ [o-yobare] การพูดเชิญชวนให้มาทานอาหารที่ผู้พูดต้องการเลี้ยงหรือทำให้ทาน


     และยังมีคำอื่นๆอีกมากมายที่สามารถใช้พูดแทนกันได้ค่ะ ทั้งหมดนี้จึงถูกเรียกว่า ภาษาและคำพูดมักจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ หรือ 言葉は、年齢とともに変化するもの。[kotoba wa nennrei totomo ni henka suru mono] และคำพูดสำหรับเด็กเล็ก ก็ยังเป็น 1 ในกระบวนการของพัฒนาการของภาษานั่นเองเจ้าค่ะ

     สุดท้ายค่ะเหตุผลที่คนญี่ปุ่นบอกว่าห้ามใช้คำพูดสำหรับเด็กเล็กกับผู้ใหญ่ ก็คือ อาจารย์ที่สอนกวดวิชาสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น แกเป็นคนญี่ปุ่นแท้ๆค่ะแถมความรู้ทางด้านภาษาศาสตร์นี่แน่นๆค่ะ แกบอกว่า

     "พวกเธอลองนึกดูนะ ถ้าเธอกำลังคุยกับเจ้านายอยู่แล้วพูดถึงเจ้านายแต่เผลอไปใช้คำถ่อมตัว 謙譲語 [kenjougo] มีหวังเธอต้องโดนตำหนิแน่ๆ เพราะในความเป็นจริงเธอควรพูดด้วยคำยกย่อง 尊敬語 [sonkeigo] คำพูดสำหรับเด็กเล็กก็เหมือนกันถ้าเธอเผลอไปพูดกับผู้ใหญ่คนญี่ปุ่นเขาจะรู้สึกว่าแปลกๆ พิลึก เพราะว่าก็ไม่ใช่เด็กแล้วจะมาใช้คำพูดแบบนี้ไม่ได้"

     ฟ้าก็นึกตามแล้วลองเปรียบเทียบกับภาษาไทยบ้าง เช่น พระกำลังกินข้าว ต้องพูดว่า พระสงฆ์ฉันภัตตาหาร ถูกต้องไหมคะ แต่ถ้าเราพูดใหม่ว่าพระสงฆ์รับประทานอาหาร ถึงแม้เราจะใช้คำว่า รับประทานซึ่งฟังแล้วสุภาพมาก แต่มันก็ไม่เหมาะกับสถานะของพระสงฆ์ใช่ไหมค่ะ

     สรุปก็คือคำพูดสำหรับเด็กเล็กในภาษาญี่ปุ่นมีให้ระวังในการใช้แค่เรื่องเดียวคือเรื่องนี้แหละเจ้าค่ะ เอาล่ะหวังว่าบล็อกในครั้งนี้เพื่อนๆทุกคนคงจะเต็มอิ่มกับสาระที่ฟ้าจังนำมาแปลและเรียบเรียงใหม่มาให้อ่านกันนะเจ้าคะ แล้วพบกันใหม่ครั้งต่อไปค่ะ บายค่ะ

 แปลและเรียบเรียงใหม่โดย ฟ้าจังกะเทยไทยในญี่ปุ่น ...


ติดตามรับข่าวสารเกี่ยวกับญี่ปุ่น

YouTube: www.youtube.com/ilovejapanth/

Facebook: www.facebook.com/ILoveJapan.th/

Twitter: https://twitter.com/ILOVEJAPANTH

Instagram: www.instagram.com/ilovejapanth/

TikTok: https://www.tiktok.com/@ilovejapanth

ทดลองเรียนภาษาญี่ปุ่นออนไลน์ฟรี 3 วันได้ที่ www.ilovejapanschool.com

I Love Japan http://www.ilovejapan.co.th/authore-1/blogger/fahchan