คนญี่ปุ่นเค้าจดเลกเชอร์กันเร็ว เพราะเค้าใช้ “คันจิตัวย่อ”!!

เคยสงสัยกันไหมคะ ว่าคนญี่ปุ่นเวลาจดเลกเชอร์ในชั่วโมงเรียน หรือจดโน้ตในการประชุมที่ต้องใช้ความรวดเร็ว เค้าจดทันได้ยังไง ในเมื่อตัวคันจิบางตัวมีเส้นเยอะมากกกก! ครั้นจะจดเป็นตัวฮิรางานะ บางคำอาจจะไปพ้องกับคำอื่น เอามาอ่านอีกทีอาจจะงงในความหมายก็เป็นได้


ความสงสัยของดิฉันหายไปหมด หลังจากที่มาเรียนมหาวิทยาลัยที่ญี่ปุ่นค่ะ หลังจากตาลีตาเหลือกจดเลกเชอร์ตามบนกระดานไม่ทัน ดิฉันก็ขอเพื่อนคนญี่ปุ่นดูสมุด ปรากฏว่า…นี่คันจิอะไรเนี่ย!!? เหมือนจะเคยเห็น แต่ก็ไม่เคยแฮะ ซึ่งนั่นก็คือ คันจิตัวย่อค่ะ แล้วที่หนักกว่านั้น อาจารย์บางท่านก็ใช้คันจิตัวย่อนี้เขียนบนกระดานด้วย…เอิ่ม ขอโทษนะคะ เห็นใจเด็กต่างชาติด้วยค่ะ แค่คันจิธรรมดาที่มีในหนังสือเรียนยังจำไม่ได้ นี่ต้องมาจำตัวย่อด้วยเหรอเนี่ย (ร้องไห้เบาๆ)

คันจิตัวย่อ (略字:りゃくじ、Ryakuji)คือคันจิที่ใช้เมื่อคันจิตัวนั้นมีเส้นเยอะและซับซ้อน เวลาย่อแล้วบางตัวอาจจะไปคล้ายกับตัวภาษาจีน โดยคันจิตัวย่อพวกนี้ คนญี่ปุ่นใช้กันโดยเป็นที่ยอมรับแล้วนะคะ ไม่ใช่ว่าใครคิดจะย่อยังไงก็ย่อตามใจตัวเอง ไม่เชื่อไปไปดูในเน็ตได้ จะชอบมีน้องๆตั้งคำถามในกระทู้ว่า คันจิตัวนี้ย่อยังไงคะ ก็จะมีผู้ใหญ่มาตอบให้ค่ะ หรือแม้กระทั่งในวิกิพีเดียยังมีลงข้อมูลไว้เลยค่ะ


อ่านมาถึงตรงนี้ บางคนอาจจะงงว่า คันจิ (sai) และ歳 (sai) ที่แปลว่า "อายุ" เหมือนกัน แต่ในการเรียนขั้นต้นจะใช้才ตัวนี้ ตัวมันเป็นรูปย่อของ เหรอ? ไม่ใช่นะคะ แต่มันเป็นคันจิแบบง่ายๆค่ะ (簡単な漢字)เพียงแค่才ใช้ส่วนประกอบส่วนหนึ่งของ歳เท่านั้นเองค่ะ

อธิบายกันมาพอสมควรแล้ว มาเข้าเรื่องกันเลยค่ะ ดิฉันได้จัดประเภทคันจิตัวย่อไว้ 5 ข้อด้วยกัน…


1.เขียนตะหวัดแบบอาร์ตๆ


อาร์ตมากกกกก!! อาร์ตเกินไปจนงงค่ะ รู้สึกมันเหมือนภาษาโบราณ ยุคสมัยที่ยังใช้หินเขียนผนังถ้ำยังไงอย่างนั้น แต่ก็เข้าใจค่ะ ว่าบางตัวเส้นเยอะจริงๆ แล้วก็ขี้เกียจยกปากกาเวลาเขียนด้วย เลยออกมาเป็นอะไรก็ไม่รู้ตามที่เห็น ใครต้องใช้สปีดในการจดสูง เชิญเอาไปลองใช้กันได้เลยค่ะ


2.ใช้ตัวคาตาคานะที่เป็นคำอ่านของตัวคันจินั้นมาเขียนแทน

การผสมผสานและนำมาประยุกต์ใช้ระหว่างคันจิ (ตัวจีน) และคาตาคานะ (ตัวญี่ปุ่น) ได้เริ่มต้นขึ้น ดิฉันว่ามันเป็นการรวมกันที่เพอร์เฟ็คมากเลยค่ะ นอกจากจะทำให้เขียนเร็วขึ้นแล้ว ยังสามารถรู้คำอ่านได้ทันที ! แหม ต้องปรบมือดังๆให้คนคิดเลยทีเดียว

ศัพท์ที่เจอบ่อยๆ อย่างตัว機 ที่แปลว่า เครื่องจักร เช่นคำว่า飛行機 (Hikouki เครื่องบิน) , 議ของ 会議 (Kaigi การประชุม) , 図ของ 図書館 (toshokan ห้องสมุด)


3.ลบข้างในทิ้ง แล้วตรัสรู้เอง

เอิ่ม….บอกได้คำเดียวว่า "อะไรจะขี้เกียจเขียนขนาดนี้!!!" ไม่เขียนข้างในแล้วจะไปรู้ไหมว่ามันคือคันจิอะไร ถึงขั้นต้องตรัสรู้เองจริงๆแหละค่ะ คือถ้าไม่ใช่คนญี่ปุ่นคงไม่มีวันรู้แน่นอน ถ้าดิฉันเจอคนจดโน้ตแบบนี้ให้ ดิฉันจะยกมือไหว้หนึ่งที แล้วบอกว่า "รบกวนเสียเวลาไม่กี่วินาที เขียนแบบเต็มๆให้เถอะค่ะ" ดีนะคะที่ช่วงชีวิตที่ผ่านมาดิฉันไม่เคยเจอแบบนี้มาก่อนเลย


4.เขียนเส้นให้ติดกันไปเลย

อุ้ย อันนี้ดูดีมีประโยชน์ สำหรับคนที่รำคาญเวลาที่ต้องเขียนคันจิตัวที่มีส่วนประกอบเป็นสี่เหลี่ยมแบบนี้ เอาไปใช้เขียนกันได้นะคะ ทำให้เขียนเร็วขึ้นจริงๆ ส่วนคันจิ 品ที่แปลว่าสิ่งของ ที่ดิฉันเขียนเป็นกลมๆเหมือนก้อนอะไรไม่รู้ซ้อนกันอยู่ การเขียนแบบนั้นไม่ได้เรียกว่า คันจิตัวย่อค่ะ แต่เรียกว่า คันจิอุบาทว์ ค่ะ ดิฉันยอมรับค่ะ ว่าเคยเขียนแบบนี้ 555 แหมก็มันรีบนี่หน่า แถมพวกผู้ชายญี่ปุ่นลายมือแย่ๆก็เขียนเป็นก้อนแบบนี้เหมือนกัน แต่ยังไงซะคนไทยอย่าเอาเป็นเยี่ยงอย่างเลยนะคะ


5.ตัวที่เห็นและใช้บ่อยๆ (ควรจำ)

ในส่วนนี้ดิฉันพยายามหาคันจิที่เจอเป็นตัวย่อบ่อยๆ และคิดว่าทุกคนควรจะจำนะ เพราะไม่งั้นอาจจะมีเงิบแบบดิฉันตอนมาเรียนที่ญี่ปุ่นใหม่ๆ ที่เจอบ่อยสุดเลยคือ 門(mon ประตู) หรือคันจิที่มีส่วนประกอบของตัวนี้ เช่น 間、開、閉、問 จะโดนย่ออย่างในรูปด้านบนทั้งหมด แต่ข้างในก็จะเขียนปกติค่ะ ซึ่งจริงๆมันเป็นวิธีการเขียนแบบจีน (ใครเรียนภาษาจีนจะทราบดี) ยังไงก็ตาม ลองเอาไปเขียนกันได้นะคะ


ใครที่สนใจเรื่องคันจิตัวย่อ 略字ลองเอาคำนี้ไปเสิร์ชในเน็ตได้ค่ะ จะมีให้ดูเยอะมากๆ ถือว่าน่าสนใจมากๆ เป็นภาษาญี่ปุ่นที่ไม่มีสอนในหนังสือเรียนของชาวต่างชาติเนอะ


ขอบคุณข้อมูลจากเว็บด้านล่างนี้ ใครอยากเห็นตัวอย่างคันจิมากกว่านี้ลองคลิกเข้าไปดูได้นะคะ

http://hac.cside.com/bunsho/1shou/39setu.html

http://dic.nicovideo.jp/t/a/%E7%95%A5%E5%AD%97


ติดตามรับข่าวสารเกี่ยวกับญี่ปุ่น

YouTube: www.youtube.com/ilovejapanth/

Facebook: www.facebook.com/ILoveJapan.th/

Twitter: https://twitter.com/ILOVEJAPANTH

Instagram: www.instagram.com/ilovejapanth/

TikTok: https://www.tiktok.com/@ilovejapanth

ทดลองเรียนภาษาญี่ปุ่นออนไลน์ฟรี 3 วันได้ที่ www.ilovejapanschool.com