Resolved
0 votes
ผมเรียนมินนะบทที่20ครับ เรื่องภาษาสุภาพกับภาษาทีาเป็นกันเอง

ผมอ่านแล้วก็ยังไม่เข้าใจสักทีครับ

เพื่อนๆช่วยอธิบายหลักการให้เข้าใจง่ายๆหน่อยได้ไหมครับ ทั้งคำนาม กริยา คำวิเศษ い และ なทั้งหมดเลยนะครับ

ขอบคุณครับ
Saturday, August 20 2016, 07:46 PM
Share this post:
Responses (2)
  • Accepted Answer

    Monday, October 10 2016, 05:31 PM - #Permalink
    Resolved
    0 votes
    ภาษาสุภาพและกันเองในภาษาไทยจะง่ายกว่าภาษาญี่ปุ่นมาก ส่วนใหญ่แค่เติมครับ/ค่ะ ลงไปเท่านั้น

    แต่ภาษาญี่ปุ่นต้องเปลี่ยนรูป อ่านตามเลยนะครับ

    พี่ไม่แน่ใจว่ากริยา "คะคิมัส" เป็นกริยากลุ่มที่เท่าไหร่ รอท่านอื่นมาตอบล่ะกันครับ

    กริยาปัจจุบันและอนาคต ภาษากันเองใช้รูป Infinitive ดังตัวอย่างคำว่า "อิคุ" (ขออภัยครับ เครื่องนี้ไม่มีคีย์บอร์ดภาษาญี่ปุ่น)

    กริยาปฏิเสธ ตามตัวอย่าง คะคิมะเซ็น ภาษากันเองต้องเปลี่ยน "คิ" เป็นวรรค "อะ" (คะ) แล้วเติม "ไน" เป็นความหมายปฏิเสธ

    กริยาอดีต เปลี่ยน "คิ" เป็น "อิ" ย่อ "มะชิตะ" เหลือ "ตะ"

    กริยาอดีตปฏิเสธ เปลี่ยน "คิ" เป็นวรรค "อะ" เหมือนเดิมและ ย่อ "มะเซ็นเดะชิตะ" เหลือ "นะคัตตะ" (สั้นลงเยอะเลยเนอะ)
    The reply is currently minimized Show
  • Accepted Answer

    Toongtang
    Toongtang
    Offline
    Tuesday, October 11 2016, 12:42 AM - #Permalink
    Resolved
    0 votes
    ขอตอบคำถามคุณ Iwamoto Takeuchi ก่อนนะครับ "คะมิมัส" เป็นกริยากลุ่มที่หนึ่งครับ


    ส่วนวิธีการจำง่ายๆนะครับ

    1) คำกริยา

    คำกริยา ก็ตามคอมเม้นของคุณ Iwamoto Takeuchi เลยครับ


    แต่จะมีตัวพิเศษอีกตัวที่ต้องจำก็คือ

    - Ikimasu หรือ Iku ที่แปลว่า ไป จะพิเศษตรงเวลาผันเป็นรูป te และ ta จะเป็น Itte กับ Itta ครับ ส่วนที่เหลือก็ผันปกติ Iku, Ikanai, **Itta**, Ikanakatta

    - Arimasu ที่แปลว่า มี หรือ อยู่ ให้จำเวลาผันเป็นรูปปฏิเสธ เป็น Nai หรือแปลว่าไม่มี (Arimasen ในภาษาสุภาพ) Aru, **Nai**, Atta , Nakatta



    2) คำขยาย い

    คำขยาย い ก็ไม่มีอะไรมากครับ แค่ไม่ต้องเติม desu หรือพูดง่ายๆก็คือตัด desu ออก แค่นั้นที่เหลือก็ให้คงรูปที่ผันเอาไว้

    เช่น Atsui desu >> รูปปัจจุบัน Atsui (ไม่ต้องเติม desu), Atsukunai,
    Atsukatta และ Atsunakatta ตามที่เคยได้เรียนมาตามบทก่อนๆ


    3) คำขยาย な และ คำนาม

    สังเกตุดูดีๆนะครับจะเห็นว่าคำขยาย な และ คำนาม จะลงท้ายเหมือนกัน

    เพราะฉะนั้นเวลาใช้ คำลงท้าย คำขยาย な และ คำนามจะเหมือนกันเลยครับ

    รูปปัจจุบัน (Da), ปฎิเสธ(Ja nai)

    รูปอดีต (Datta) และ ปฏิเสธที่เป็นอดีต (Ja nakatta)
    Like
    1
    The reply is currently minimized Show
Your Reply