j ภาษาญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นคำนี้ เขียนด้วยคันจิหรือฮิรางานะดีนะ

ญี่ปุ่นคำนี้ เขียนด้วยคันจิหรือฮิรางานะดีนะ

By , Wednesday, 16 August 2017

#จุ๊บุจุ๊บุ_โยดช่า じゅぶじゅぶ~よっしゃ

     สวัสดีค่ะผู้ติดตามทุก ๆ คนสบายดีไหมค่ะ ฟ้าจังมาแล้วเจ้าคะ ค่ะวันนี้ฟ้าจังจะมาสอนภาษาญี่ปุ่นบ้างนะคะ ใครที่กำลังเรียนภาษาญี่ปุ่น หรือเคยเรียนภาษาญี่ปุ่นมาบ้างแล้วก็คงจะทราบกันดีนะคะว่า พยัญชนะในภาษาญี่ปุ่นมีใช้อยู่ด้วยกัน 3 แบบด้วยกัน นั่นก็คือ ฮิรางานะ คาตาคานะ และตัวคันจิ เมื่อพูดถึงตัวคันจิหลายๆคนคงจะเบะปากมองบนกันแทบทุกคน รวมถึงฟ้าจังด้วย เพราะว่ามันจำยากเหลือเกิน โดยปัญหาดังกล่าวไม่ใช่แค่นักเรียนไทยเท่านั้นที่กังวลแม้แต่คนญี่ปุ่นซึ่งเป็นเจ้าของภาษาเองก็กลุ้มใจไม่น้อยไปกว่าพวกเราเจ้าค่ะ

     โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกนักเขียนบทความหรือบล็อกเกอร์ชาวญี่ปุ่นก็ยังพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าคันจิยากนะจำไม่ค่อยจะได้ เรื่องการจำคันจิไม่ได้ถือว่าเป็นปัญหาขั้นพื้นฐานเจ้าค่ะ ฟ้าจังไม่ขอพูดถึง แต่สิ่งที่นักเขียนชาวญี่ปุ่นเป็นกังวลนั่นก็คือในบางครั้งตัวคันจิที่เขียนยากหรืออ่านยากแต่บังเอิญใช้บ่อยมันควรจะเขียนด้วยฮิรางานะจะดีไหม หรือใน 1 บทความควรจะลดตัวคันจิลงดีกว่าไหม เพื่อให้ผู้อ่านได้อ่านบทความได้ง่ายขึ้น และดึงดูดให้เข้ามาอ่านบทความกันเยอะๆ

     แหม ความเห็นข้างบนฟ้าจังเห็นด้วยมากๆนะเจ้าคะ เพราะทุกวันนี้มีหลายต่อหลายครั้งเวลาฟ้าสนใจข่าวสักข่าวหนึ่งพอกดเข้าไปอ่าน หู้ยยยย มีแต่ตัวคันจิ ทั้งๆที่สนใจ และอยากรู้มากๆเจอแบบนี้ก็จบเห่เลยค่ะ ตาลายเลย พอค่ะไม่อ่านก็ได้ 55555 เป็นอันว่าข่าวก็ไม่ได้อ่านความรู้ก็ไม่ได้ตามไปด้วย

     มาคราวนี้ ฟ้าจังจะนำตัวอย่างบทความ มาสัก 1 บทความย่อๆคือ 1 ต้นฉบับ ที่มีตัวคันจิเยอะมาก และ 2 ฉบับที่ ลดตัวคันจิลงและเขียนแทนด้วยตัวฮิรางานะเจ้าค่ะ

ตันฉบับ

利用者は限られた時間の中で、有益な情報に素早く辿り着く事を目的に、検索サービスを利用して居ます。例えば「○○うどん」と言う店名だけでは無く、「○○うどん 住所」「○○うどん 地図」と言った、一層具体的な言葉の組み合わせで検索する傾向が有ります

ฉบับที่ลดตัวคันจิลงและเขียนด้วยตัวฮิรากานะแทน

利用者は限られた時間のなかで、有益な情報に素早くたどり着くことを目的に、検索サービスを利用しています。たとえば「○○うどん」という店名だけではなく、「○○うどん 住所」「○○うどん 地図」といった、いっそう具体的な言葉の組み合わせで検索する傾向があります


คำอ่านเจ้าค่ะ

Riyōsha wa kagira reta jikan no naka de, yūekina jōhō ni subayaku tadoritsuku koto o mokuteki ni, kensaku sābisu o riyō shite imasu. Tatoeba `○○ udon' to iu tenmei dakede wa naku,`○○ udon jūsho'`○○ udon chizu' to itta, issō gutaitekina kotoba no kumiawase de kensaku suru keikō ga arimasu


​     เป็นอย่างไรบ้างคะเพื่อนๆ รู้สึกโล่ง และอ่านง่ายสบายตาขึ้นไหมคะ 5555 สำหรับฟ้าจังแล้วรู้สึกโล่งประมาณว่า ท้องผูกมา 5 วันติดแล้วถ่ายออกอะค่ะ 555555 มันอ่านง่ายขึ้นจริงๆนะคะ

     กฎการลดตัวคันจิลงแล้วเขียนแทนด้วยตัวฮิรางานะแบบนี้ ยึดหลักเพียงแค่คันจิตัวนั้นใช้บ่อยและอ่านยาก ซึ่งมันไม่เป็นมาตรฐานสักเท่าไหร่ค่ะ ลองนึกดูนะคะ แต่ละคนมีชีวิตประจำวัน หรืองานที่ทำแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นตัวคันจิที่ใช้ก็ต่างกันมากน้อยตามไปด้วย ส่วนเรื่องคันจิตัวนี้อ่านยากแต่ละคนก็มีความสามารถในการอ่านคันจิต่างกันไป คนนี้ว่าง่ายแต่คนนั้นว่ายาก ฟ้าจังว่ามันไม่เวิร์คสักเท่าไหร่จริงๆนะเจ้าคะไอ้กฎแบบนี้

     และนี่คือคำศัพท์ตัวอย่างที่เขานำกฎตามข้างต้นมาให้ดูเป็นบางส่วนนะคะ 

     นี่ค่ะขนาดนำมาให้ดูเป็นบางส่วนนะคะ มันเยอะมาก เอาเป็นว่าตัวอย่างพวกนี้ฟ้าจังแนะนำว่าใด้ดูไว้ประดับความรู้ก็พอนะเจ้าคะถ้ามัวแต่คิดว่าจะลดตัวคันจิแล้วเขียนแทนด้วยตัวฮิรางานะเราก็จะจำตัวคันจิไม่ได้เลย กฎแบบนี้ฟ้าจังก็เรียกว่ากดตามใจฉันก็แล้วกัน แต่สิ่งที่ฟ้าจังจะเน้นก็คือ คำกริยาเจ้าค่ะ เช่น

     「致します」「下さい」「頂きます」 คำกริยา 3 ตัวนี้หลายๆคนยังงง และสงสัยว่ามันควรจะเขียนด้วยคันจิ หรือฮิรางานะดี มาๆฟ้าจังจะเริ่มอธิบายแล้วกันนะคะโดยกฎที่จะอธิบายต่อไปนี้ได้นำมาอ้างอิงจากกระทรวงวัฒนธรรมในเรื่องแนวทางการใช้คำยกย่อง ปีเฮเซที่ 9 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ หน้าที่ 24 หรือ 9年2月2日の文化審議会答申「敬語の指針」

     ในกรณีถ้าคำกริยานั้นๆที่ทำหน้าที่เป็นคำกริยาหลัก 「本動詞-Hon dōshi」และในกรณีถ้าคำกริยานั้นๆที่ทำหน้าที่เป็นคำกริยาช่วย 「補助動詞-Hojo dōshi」ให้ปฏิบัติดังนี้

     ค่ะตามตารางข้างต้นจะสังเกตได้ว่าคำว่า いたす คำเดียวเท่านั้นที่ใช้ฮิรางานะ ทั้ง 2 ประเภทของคำกริยา ส่วน 下さる และ 頂く เมื่อมันทำหน้าที่เป็นคำกริยาหลักก็เขียนด้วยตัวคันจิ และถ้ามันทำหน้าที่เป็นคำกริยาช่วยก็เขียนมันแทนด้วยฮิรางานะ แค่นี้ก็หมดปัญหาเจ้าค่ะ ว้าว! จำง่ายดีเนอะ  ฟ้านี่นะก็งงมาตั้งนานว่าจะยังไงดี คราวนี้รู้แล้วค่ะต่อไปก็ใช้ได้ถูกต้องตามหลักภาษาสักที ต่อไปตามหลักและกฎข้างต้นเรามาดูตัวอย่างประโยคกันดีกว่าค่ะ

ตัวอย่างประโยคเมื่อเป็นคำกริยาหลัก

先生が下さいました。Sensei ga kudasaimashita

先生が頂きました。Sensei ga itadakimashita

ตัวอย่างเมื่อเป็นคำกริยาช่วย

ご確認ください。Go kakunin kudasai

ご確認いただけますか。Go kakunin itadakemasu ka

     เป็นอย่างไรบ้างคะ ตัวอย่างที่ให้มาหลายๆคนคงจะงง และคิดว่าเอ๊ะ! แค่มันมีคำช่วยกับไม่มีคำช่วยหน้าที่ของคำกริยาก็เปลี่ยนไปเหรอ คำตอบก็คือ ใช่ค่ะ มาดูตัวอย่างเพิ่มเติมจะได้เข้าใจกันมาขึ้น เช่น を 


ご連絡くださる。Go renraku kudasaru

ในกรณีนี้เราใช้ ご連絡 เป็นคำยกย่อง หน้าที่ของ くださる จึงกลายเป็นคำกริยาช่วยค่ะ


ご連絡を下さい。Go renraku o kudasai

ในกรณีนี้เราใช้ ご連絡 เป็นกรรมของประโยค หน้าที่ของ 下さい จึงกลายเป็นคำกริยาหลักค่ะ


ご連絡いただく。Go renraku itadaku

ในกรณีนี้เราใช้ ご連絡 เป็นคำถ่อมตัว หน้าที่ของ いただく จึงกลายเป็นคำกริยาช่วยค่ะ


ご連絡を頂く。Go renraku o itadaku

ในกรณีนี้เราใช้ ご連絡 เป็นกรรมของประโยค หน้าที่ของ 頂く จึงกลายเป็นคำกริยาหลักค่ะ


     ค่ะเมื่อมีการตั้งกฎแบบนี้ขึ้นมาแล้วก็ยังมีคนญี่ปุ่นอีกไม่น้อยบอกว่า โอ้ยสำหรับฉันจะเขียนแบบไหนก็ได้ใครจะทำไม ฟ้าจังขอแนะนำคนไทยว่าอย่าคิดแบบนี้นะคะ เพราะกฎที่ฟ้าจังนำมาให้นี้ทางญี่ปุ่นได้บัญญัติไว้เป็นมาตรฐานในการใช้คันจิที่ถูกต้องนะเจ้าคะ ยังไงก็พยายามใช้ให้ถูกต้องด้วยค่ะ ฟ้าจังขอความร่วมมือด้วยค่ะ เหตุผลของมันก็คือ

     1.เพื่อที่จะลดจำนวนคันจิลง

     2.เพื่อที่จะเว้นช่องว่างในการเขียนคันจิ พูดง่ายๆก็คือให้อ่านง่ายขึ้น

     อ้าวคราวนี้เรามาดูกันซิว่า ไอ้คำกริยาช่วยในภาษาญี่ปุ่นมันไม่ได้มีแค่ 「致します」「下さい」「頂きます」3 ตัวนี้นะคะ แต่มันยังมีคำอื่นๆอีก ทางญี่ปุ่นมีบัญญัติอีกหลายคำค่ะ นี่เลย

​  เป็นอย่างไรบ้างคะถึงบางอ้อเลยใช่ไหม จะบอกอะไรให้นะคะฟ้าจังนั่งสอนไปก็ อ้อ ๆ ๆ ๆ ไปเจ้าคะ คราวนี้หละจำขึ้นใจแล้วก็คงจะใช้ได้ถูกต้องสักที โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่จะเขียนจดหมายธุรกิจเป็นสิ่งที่จำเป็นมากอย่างยิ่ง ถ้าเราใช้คันจิเป็นและถูกต้อง ยิ่งจะเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับจดหมายธุรกิจที่เรากำลังติดต่อกับบริษัทนั้นๆเจ้าคะ

     ความเห็นเพิ่มเติมของฟ้าจัง คิดว่ายังมีอีกหลายๆคำกริยานอกเหนือจากตัวอย่างที่นำมาให้ดูก็ควรที่จะเขียนด้วยฮิรางานะนะคะ เช่น คำกริยาช่วยที่เกิดจากคำกริยา 2 คำมาผสมกัน เช่น

....て来る น่าจะเขียนเป็น ...てくる

....し合う น่าจะเขียนเป็น ...しあう

...し掛ける น่าจะเขียนเป็น ...しかける

...し付ける น่าจะเขียนเป็น ...しつける

     และอื่นๆอีกหลายคำกริยาผสมที่เกิดจาก ไม่ว่าจะตามหลัง รูป て (ที่มันน่าจะเป็นกริยาช่วยเท่านั้น) หรือไม่ว่าจะตามหลังรูป ます แล้วตัด ます ออก ก็ขอให้เพื่อนๆพิจารณาเอานะคะ 

     ฟ้าจังหวังว่าการสอนภาษาญี่ปุ่นในครั้งนี้ของฟ้าจังคงจะเป็นประโยชน์ไม่น้อยกับผู้ที่กำลังเรียนภาษาญี่ปุ่นนะเจ้าคะ คราวหน้าถ้ามีอะไรใหม่ๆเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่น ฟ้าจังจะรีบนำมาอัปเดตให้เพื่อนๆทุกคนได้รับทราบทันทีเจ้าค่ะ ส่วนบทความก่อนหน้าที่ถ้าใครพลาดการอ่านก็กดลิงก์เข้าไปอ่านย้อนหลังได้ที่นี่นะคะมีครบทุกบทความที่ฟ้าจังเขียนไว้เจ้าค่ะ

      http://www.ilovejapan.co.th/authore-1/blogger/fahchan 

     วันนี้ขอแค่นี้นะคะ แล้วพบกันใม่ในครั้งหน้าเจ้าค่ะ ไปแล้ว บายค่ะ


แปลและเรียบเรียงใหม่โดย ฟ้าจังกะเทยไทยในญี่ปุ่น

www.youtube.com/c/FahChanChannel

www.facebook.com/FahChan.Page


 ติดตามรับข่าวสารเกี่ยวกับญี่ปุ่น

YouTube: www.youtube.com/ilovejapanth/

Facebook: www.facebook.com/ILoveJapan.th/

Twitter: https://twitter.com/ILOVEJAPANTH

Instagram: www.instagram.com/ilovejapanth/

TikTok: https://www.tiktok.com/@ilovejapanth

ทดลองเรียนภาษาญี่ปุ่นออนไลน์ฟรี 3 วันได้ที่ www.ilovejapanschool.com